เลขที่ 13 56364748 นาย อดิศร ปิ่นมณี


การวิพากษ์วรรณกรรม ประกอบรายวิชา 001222 ภาษา สังคม และวัฒนธรรม
โดย นาย อดิศร ปิ่นมณี
รหัสประจำตัว 56364748
คณะ วิศวกรรมศาสตร์

ชื่อวรรณกรรม            ตามรักคืนใจ
แต่งโดย                    ปาริฉัตร ศาลิคุปต์
แปลโดย (ถ้ามี)           -
พิมพ์ครั้งที่                 14
สำนักพิมพ์                สำนักพิมพ์อรุณ
ปีที่พิมพ์                   2554
จำนวนหน้า                543

เนื้อหาโดยย่อ
          เรื่องราวของ นารา หรือ หนูนา หลานสาวของ วรรณ นายธนาคารขนาดใหญ่ของประเทศไทย กับการตามหาสิ่งที่เธอตามหามาตลอด นั่นคือ พ่อของเธอ ที่เคยเชื่อว่าตายไปแล้วเมื่อหลายปีก่อนจากหลักฐานที่ได้จากเพื่อนโดยบังเอิญ จึงตัดสินใจมุ่งหน้าสู่เชียงรายเพื่อตามหาพ่อของเธอ แต่แล้วเธอก็ตกกระไดพลอยโจนไปเป็นคนงานอยู่ใน ไร่สัตตบุษย์ หรือ ไร่บัวขาว ที่มีสีหนาท หรือ ที่คนในไร่รู้จักกันในชื่อ นายสิงห์ เจ้าของไร่ที่กลายเป็นผู้ดูแลของเธอ นาราทำอะไรไม่เป็นเพราะด้วยความเป็นลูกคุณหนูแต่ก็ต้องยอมทนทำเพียงเพื่อที่จะได้อยู่ใกล้ชิดผู้เป็นพ่อ ทำให้คนในไร่ต้องวุ่นวายอยู่เสมอ แต่เพราะความน่ารักสดใส และ นิสัยดี ทุกคนจึงยอมรับ รวมทั้งสีหนาทที่หลงความน่ารักของเธอเข้าอย่างจัง นาราได้พบกับ ราม พ่อของเธอที่มีความลับบางอย่างจึงต้องมาอยู่ไร่และกำลังมีความรู้สึกดีๆกับ ขนิษฐา หรือ คุณน้อง น้องสาวของสีหนาทที่แอบรักอยู่ในใจ แต่รามกลับไม่กล้าเดินหน้าต่อเพราะความที่มีมลทินในอดีต และ รัศมี แม่ของนาราที่ยังคงเป็นโซ่ล่ามขาเขาอยู่ ทำให้เขาไม่ยอมรับว่า นารา เป็นลูกของเขา ท่ามกลางปัญหาที่เข้ามา นาราได้พบกับบทเรียนต่างๆมากมายในการใช้ชีวิตที่เธอไม่เคยได้สัมผัส รวมถึงความรู้สึกดีๆที่มีต่อผู้ดูแล อย่าง สีหนาท จนกระทั่งปัญหาระหว่างไร่เกิดขึ้น และเธอก็เข้าไปพัวพันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นาราที่พอรู้ความในใจของขนิษฐาที่มีต่อราม เธอเข้าไปคุยกับขนิษฐาว่าถ้าขนิษฐารักพ่อของเธอจริงเธอจะยินดีมาก และพร้อมกับฝากฝังรามไว้ ซึ่งขนิษฐาเองก็ยินดี อยู่ที่รามจะยอมรับเธอไหม เมื่อรามเป็นอิสระ เขาก็พร้อมจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ เขาเดินเข้ามาบอกขนิษฐาว่าตอนนี้ถ้าเขาจะเริ่มต้นกับใครสักคน คนคนนั้นต้องเป็นขนิษฐาผู้หญิงที่ไม่รังเกียจคนมีอดีตอย่างเขา และเขาเองก็เห็นว่ารักของเธอมีความสำคัญเสมอ เพียงแต่มีปัจจัยหลาย ๆ อย่างทำให้เขาต้องเจียมตัว แต่ตอนนี้ไม่มีอะไรผูกมัดเขาแล้ว ขนิษฐาดีใจมากที่รามยอมรับความรักของเธอ เมื่อถึงวันที่นาราต้องเดินทางกลับกรุงเทพฯ สิงหนาทสัญญากับนาราว่าวันที่เธอเดินทางไปอเมริกาเขาจะไปส่งด้วยตัวเอง และเขาจะรอเธอ ไม่ว่าจะนานแค่ไหน นาราก็สัญญากับสิงหนาทเช่นกันว่าเมื่อเรียนจบจะกลับมารับตำแหน่งนายหญิงของไร่บัวขาว ตำแหน่งนี้สิงหนาทบอกว่าเก็บไว้ให้เธอเพียงคนเดียวเท่านั้น นารายิ้มอย่างมีความสุข เมื่อเห็นรามมีขนิษฐาอยู่เคียงข้าง และเธอก็ได้รักของพ่อกลับคืน โดยมีรักของวรรณคอยประคับประคองให้เธอกลายเป็นนาราในวันนี้ รัก ที่เธอพยายามตามหามาตลอด ตอนนี้ได้กลับมาอยู่ในหัวใจของเธอ และเธอสัญญาว่าจะรักษามันอย่างดี ยามมา เธอมาเพื่อตามหนึ่งความรักครั้งเก่าคืนสู่หัวใจตัวเอง ทว่ายามกลับ เธอได้รับความรักจากหัวใจถึงสองดวงกลับไป

คุณค่าของวรรณกรรมที่ได้อ่าน
          วรรณกรรมเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงความรักอันบริสุทธิ์ของลูกสาวที่มีต่อผู้เป็นพ่อ และความรักของพ่อที่มีต่อลูกสาวนั้นยื่งใหญ่แค่ไหน ต่อให้ไม่ได้พบไม่ได้เจอกันมาเป็นสิบๆปี แต่ความรักที่มีให้แกกัน ความทรงจำที่ได้มีร่วมกันก็ไม่ได้จางหายหรือลดลงไปเลย แต่กลับกันความรักที่พ่อและลูกมีให้แก่กันกลับเพิ่มมากยิ่งขึ้น ได้เห็นถึงความมุ่งมั่นความตั่งใจของนาราที่มีความต้องการที่จะใกล้ชิตผู้เป็นพ่อ พยายามที่จะรู้ชีวิตความเป็นอยุ่ของพ่อ โดยการที่ตัวเองยอมทนลำบากทำงานที่ตัวเองไม่เคยทำมาก่อน ทั้งเจ็บตัวทั้งร้อน ทั้งคำดูถูกที่ของคนงานรอบข้าง แต่นาราเองก็พยายามอย่างที่สุดไม่เคยคิดยอมแพ้ แล้วทุกคนก็จะเห็นถึงความพยายามและยอมรับในตัวนารา รวมถึงในด้านการอนุรักษ์ป่ารักษาทรัพยากรป่าไม้ ปลูกจิตสำนึกในการรักษาผืนป่า การปลูกป่าทดแทน และป้องกันการลักลอบตัดไม้

บริบททางสังคมและวัฒนธรรมจากการอ่าน
          สังคมยังคงมองประสิทธิภาพของการทำงานนั้นเป็นตัวกำหนดคุณค่าของคน นาราถูกประเมินผ่านสายตา ค่านิยม และบริบททางสังคม ซึ่งดูได้จากการที่นาราถูกคนงานด้วยกันนั้นดูถูก ว่าทำงานไม่ได้ ทำงานไม่เป็น เนื่องจากตัวงานที่ใช้กำลังกายนั้นไม่ได้เหมาะสมกับนารา แต่เนื่องด้วยนารานั้นพยายามทำ ตั่งใจอย่างจริงจัง ทำให้ทุกคนเริ่มยอมรับและเข้าใจว่าคนเราไม่มีอะไรที่เป็นมาแต่เกิด ต้องค่อยๆสอนงานให้ปรับตัวกันไป กลับกันเมื่อนาราเปลียนจากคนงานในไร่มาเป็นผู้ช่วยนายสิงหนาท งานที่ได้รับการมอบหมายนั้นตรงกับความสามารถ ทำให้นาราทำงานได้ดี นั้นยิ่งทำให้ทุกคนยอมรับในตัวนารา
          ชนชั้นทางสังคมยังคงมีอยู่ในสังคมไทย ผู้ที่มีเงินก็จะมีอำนาจมีคนให้ความเกรงใจมากกว่าบุคคลทั่วไป และคนที่มีฐานะต่ำกว่าก็จะถูกดูถูกจากคนที่มีฐานะสูงกว่า และไม่ค่อยได้รับการยอมรับดังเช่นพ่อของนาราที่พ่อตาไม่ยอมรับในตัวเขา นั้นแสดงให้เห็นว่าการแบ่งชนชั้นทางสังคมยังคงมีอยู่ในสังคม