เลขที่ 18 59363038 นางสาวปนัดดา แสนอร่าม


การวิพากษ์วรรณกรรม ประกอบรายวิชา 001222 ภาษา สังคม และวัฒนธรรม
โดย นางสาวปนัดดา แสนอร่าม
รหัสประจำตัว 59363038
คณะ วิศวกรรมศาสตร์
ชื่อวรรณกรรม    มรดกมรณะ Mornong, Noon & Night
แต่งโดย   ซิดนีย์ เชลดอน (SIDNEY SHELDON)
แปลโดย  วิกรานต์
พิมพ์ครั้งที่ 1
สำนักพิมพ์ แพรวสำนักพิมพ์
ปีที่พิมพ์ 2554
จำนวนหน้า 308

เนื้อหาโดยย่อ
            แฮร์รี่ สแตนฟอร์ด มหาเศรษฐีจอมอิทธิพล ผู้เป็นที่นับถือและเกรงใจของประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีทั่วโลก มีชีวิตส่วนตัวอันไม่โสภานัก เขาเป็นเสือผู้หญิงที่สร้างความชอกช้ำให้ภรรยา จนถึงขั้นฆ่าตัวตายเมื่อเขาทำครูพี่เลี้ยงของลูกตั้งครรภ์ ส่วนความสัมพันธ์กับลูกๆก็ไม่ดีไปกว่ากัน ด้วยเขาคอยแต่จะดูหมิ่นและชิงชัง
            เมื่อแฮร์รี่ สเตนฟอร์ด เสียชีวิตอย่างมีเงื่อนงำโดยตกเรือยอช์ตส่วนตัวกลางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ลูกๆทั้งสามของเขาได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้งที่คฤหาสน์ของตระกูลในบอสตัน เพื่อฟังการอ่านพินัยกรรมและเตรียมตัวรับมรดกมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ แต่แล้วจู่ๆก็มีหญิงสาวสวยคนหนึ่งปรากฏตัวขึ้น อ้างตัวว่าเป็นจูเลีย สแตนฟอร์ด ลูกสาวนอกสมรสของของแฮร์รี แล้วเกมแห่งการชิงไหวชิงพริบก็เริ่มขึ้น เกมที่มีการเดิมพันสูงและอันตรายเกินกว่าใครจะจินตนาการถึง
คุณค่าของวรรณกรรมที่ได้อ่าน
1.คุณค่าทางอารมณ์  จากเรื่องมรดรมรณะ ผู้ประพันธ์สามารถถ่ายทอด อารมณ์โศก อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ เคียดแค้น  ที่แฝงอยู่กับความรื่นเริงบันเทิงใจ หรือการได้ร้องให้กับตัวเอกของเรื่องในหนังสือหรือหัวเราะกับคำพูดในหนังสือนั้นมีผลดีทางด้านอารมณ์
2.คุณค่าทางปัญญา จากนวนิยายเรื่องนี้จะเห็นว่าผู้เขียนใส่ความรู้รอบตัว ความรู้เท่าทันคน ความเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวละครในเรื่องให้ข้อคิดต่อผู้อ่านขยายทัศนคติให้กว้างขึ้น บางครั้งก็ทำให้ทัศนคติที่เคยผิดพลาดกลับกลายเป็นถูกต้อง เช่น แฮร์รี่จริงๆแล้วไม่ใช่คนที่เลวร้ายไปหมดทุกเรื่อง เขาเองก็เป็นคนที่รักลูกมากเช่นกัน ถึงแม้การแสดงออกนั้นจะสวนทางกัน
3.คุณค่าทางศีลธรรม นวนิยายเรื่องนี้มีคติหรือแง่คิดอย่างหนึ่งแทรกไว้ ทั้งเป็นเนื้อเรื่องหรือเป็นคติคำสอนระหว่างบรรทัด ซึ่งสามารถให้ได้หลายๆอย่าง บางที่ผู้อ่านที่อ่านอย่างผิวเผิน จะตำหนิตัวละครในเรื่องนั้นว่า กระทำผิดศีลธรรมไม่ส่งเสริมให้คนมีศีลธรรม แต่ถ้าพิจารณาและติดตามต่อไปผู้อ่านก็จะพบว่า ใครก็ตามที่ไม่อยู่ในศีลธรรมก็จะต้องประสบความทุกข์ยาก ความล้มเหลว และความเกลียดชังจากสังคม
4.คุณค่าทางทักษะเชิงวิจารณ์ จากนวินิยายเรื่อง มรดกมรณะจะเห็นว่าผู้เขียนสร้างตัวละครที่มีทั้งดีและร้าย คนที่ไม่สามารถแยกแยะได้อาจจะนำการกระทำจากที่ได้อ่านนั้นมาเลียนแบบ ส่วนคนที่มีประสบการณ์ มีความรู้มากกว่าจะสามารถวิเคราะห์วิจารณ์ตัวละครนั้นว่าอาจจะหลงผิดทำผิดได้ ซึ่งวรรณกรรมเป็นสิ่งยั่วยุให้ผู้อ่านใช้ความคิดนึกตรึกตรองตัดสินสิ่งใดดีหรือไม่ดี
5.คุณค่าทางการใช้ภาษา การเขียนเป็นการถ่ายทอดความคิด เป็นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร เพื่อรสชาติทางภาษา เพื่อจูงใจเพื่อความติดใจและประทับใจ ทำให้ผู้อ่านสามารถสังเกต จดจำนำไปใช้ก่อให้เกิดการใช้ภาษาที่ดี เพราะการเห็นแบบอย่างทั้งที่ดี 


บริบททางสังคมและวัฒนธรรมจากการอ่าน
            มรดกมรณะ เป็นนวนิยายที่แต่งขึ้นโดยคนตะวันตก เพราะเช่นนั้นทำให้ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมในเรื่องจะเป็นของคนตะวันตก ยกตัวอย่างเช่นวัฒนธรรมการทักทาย วัฒนธรรมการรับประทานอาหาร ทุกสิ่งทุกอย่างแตกต่างกันไป ทำให้ผู้อ่านสามารถจินตนาการการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวตะวันตกที่แตกต่างจากคนเอเชียแบบเราได้