เลขที่ 16 59360112 นายกริชเดชา โสภณเมธา


การวิพากษ์วรรณกรรม ประกอบรายวิชา 001222 ภาษา สังคม และวัฒนธรรม

โดย นาย กริชเดชา  โสภณเมธา
รหัสประจำตัว 59360112
คณะ วิศวกรรมศาสตร์

ชื่อวรรณกรรม               ยูโทเปีย
แต่งโดย                         เซอร์โธมัส มอร์
แปลโดย                                    สมบัติ  จันทรวงศ์    
พิมพ์ครั้งที่                      4
สำนักพิมพ์                   สำนักพิมพ์สมมติ
ปีที่พิมพ์                        2551
จำนวนหน้า                   232
เนื้อหาโดยย่อ
                     ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 นักปรัชญามนุษย์นิยมชาวอังกฤษ เซอร์โธมัส มอร์ ได้สร้างศัพท์คำว่า  "ยูโทเปีย" ขึ้นมาจากคำในภาษากรีซ ยูโทเปีย ซึ่งหมายถึง "สถานที่ที่ดี "  และเสียงของคำนี้ได้ไปพ้องกับคำในภาษากรีกว่า ยูโทเปีย ซึ่งหมายความว่า "ไม่มีที่ใด"
ศัพท์คำว่า"ยูโทเปีย"ได้ขยายความมาจากความหมายพื้นฐานทั้งสองนี้ อันที่จริง เกาะที่สรรสร้างขึ้นมาของ เซอร์โธมัส มอร์ ที่เรียกว่ายูโทเปีย เป็นทั้ง"สถานที่ที่ดีและสถานที่ซึ่งไม่มีอยู่" ในเวลาเดียวกัน ดังที่มันมีอยู่เพียงในจินตนาการของเขาเท่านั้นนักคิดยูโทเปียทั้งหลายพยายามที่จะสร้างปัจจัยภายนอก เช่น การออกแบบระบบการเมือง เศรษฐกิจ  การปกครองตลอดจน กฎหมาย  วัฒนธรรม  ความเชื่อ  ประเพณี  จารีตต่างๆ เพื่อสร้างสังคมในอุดมคติที่ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
แต่ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดแบบใด ตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ดูเหมือนว่า ดินแดนในฝันแห่งนี้ก็จะยังคงเป็นดินแดนในฝันต่อไป  ไม่สามารถเป็นจริงขึ้นมาได้  แล้วถามว่าทำไมจึงเป็นอย่างนั้น
ในความแตกต่างเหลื่อมล้ำกัน  เอาตั้งแต่แรกเกิดมาเลย  รูปร่าง  หน้าตา  สติปัญญา  สภาพแวดล้อม ในโลกแห่งความไม่เท่ากันนี้คงยากที่จะมีคนที่จะใจกว้างพอ ยอมรับได้โดยไม่รู้สึกอะไรเลย
แล้วในโลกที่เหลื่อมล้ำสูงต่ำกว่ากันนี้ เราจะทำให้ทุกคนอยู่ร่วมUtopiaกันอย่างมีความสุขได้อย่างไรล่ะ  แน่นอนแหละว่าการจะให้ทุกคนยอมรับในสิ่งที่ตัวเองมี  ตัวเองเป็นนั้น  เป็นเรื่องยาก  และนั่นก็เป็นที่มาแห่งความขัดแย้งทั้งหลายทั้งปวง  ก่อให้เกิดสงครามมาแล้วไม่รู้กี่สงคราม
                          เมื่อมีผู้ใช้สงครามเข้าตัดสิน ก็จะก่อให้เกิดผู้ที่ได้รับทุกข์จากสงครามและนั่นเองก็ก่อกำเนิดผู้ที่แสวงหาสันติภาพ  หาความสุขสงบ  หาดินแดนแห่งความฝัน  ดินแดนที่ได้รับการขนานนามว่า"ยูโทเปีย"ทุกคนก็มีความฝันที่อยากจะอยู่ในดินแดนแห่งนี้เหมือนกัน ดินแดนที่  สุข สงบ อิสระ เสรี และปลอดภัยไร้กังวลใดๆทั้งสิ้น  ดินแดนที่มี "สันติภาพ" ถาวร  แต่ดินแดนในฝันแห่งนี้มันคงจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน ถ้าเรามุ่งแต่ที่จะปรับเปลี่ยนแต่สิ่งภายนอก  เปลี่ยนสภาพแวดล้อม  เปลี่ยนความคิด  เปลี่ยนความเชื่อของคนอื่น  เพื่อตอบสนอง ความ "โลภ โกรธ หลง" ของเรา ดังความพยายามทั้งหลายที่เหล่านักคิดยูโทเปียได้สร้างสรรค์แนวคิดต่างๆแต่ก็ไม่สามารถทำให้เป็นจริงขึ้นมาได้สักที
 แทนที่เราจะแสวงหาปรับเปลี่ยนโลกภายนอกเราลองหันมาปรับเปลี่ยนจิตใจของเราเองลองถามตัวเองดูว่า เราเองมีคุณสมบัติพอที่จะอยู่ในสถานที่แบบนั้นหรือเปล่าถ้าไม่หลอกตัวเองไม่โกหกตัวเองและไม่โง่จนไม่ เข้าใจว่าคุณสมบัติที่ว่ามันเป็นยังไงเราก็มีสิทธิที่จะย้ายสำมะโนครัวเข้าไปอยู่ในดินแดนแห่งนั้นได้ทันทีและ ถ้าแต่ละคนทำตัวเองให้มีคุณสมบัติพอที่จะอยู่ในดินแดนแห่งนั้นการเชื่อมต่อของดินแดนในอาณาเขตของ จิตใจของแต่ละคนก็อาจจะทำการเชื่อมต่อกันได้และถ้ามีจำนวนมากพอก็อาจจะทำให้ดินแดนที่มีอยู่แต่ในความคิดและจินตนาการปรากฏออกมาเป็นรูปธรรมให้พวกเราได้เห็นได้สัมผัสกันจริงๆ

คุณค่าของวรรณกรรมที่ได้อ่าน
  1.  คุณค่าทางอารมณ์ 
  2.  คุณค่าทางประวัติศาสตร
  3.  คุณค่าทางศีลธรรม
  4.  คุณค่าทางจิตนาการ 
  5. คุณค่าทางทักษะเชิงวิจารณ
บริบททางสังคมและวัฒนธรรมจากการอ่าน
            จากการที่ได้ศึกษานวนิยายเรื่องยูโทเปียทำให้เห็นว่าบริบททางสังคมในนวนิยายเรื่องนี้ไม่มีสังคมไหนที่จะไม่เกิดปัญหาการเหลื่อมล้ำภายในสังคม เช่น รูปร่าง  หน้าตา  สติปัญญา  สภาพแวดล้อม ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก่อให้เกิดความไม่สงบสุขภายในสังคม ดังนั้นการอยู่ร่วมกันภายในสังคมจะต้องรับฟังความคิดเห็นและมีความเคารพในการตัดสินใจของผู้อื่นจึงจะทำให้การดำเนินชีวิตภายในสังคมเป็นไปอย่างราบรื่น